วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

INTERNET

ความหมายของอินเตอร์เน็ต     
      "อินเตอร์เน็ต" มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
คำว่า "เครือข่าย" หมายถึง
      1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
      2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
      3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน

หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต      
      การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่ อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
      เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
      1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
      2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
      3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
      อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512  เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเนพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหารโดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา" (ARPA : Advanced Research Project  Agency)

         ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency)  ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม  ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรกในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า  NSFNET  และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถ ที่จะรองรับ ภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย มากมายทั่วโลก
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย        
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" (Campus Network)เครือข่ายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" (NECTEC)จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อเดิมในขณะนั้น) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      - สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
      - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
      - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
      - มหาวิทยาลัยมหิดล
      - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
      - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
      - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
      - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
      - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

     เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup (NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร"( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ     "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วยงานและ NECTEC ยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
      1.อุปกรณ์     
      1.1)คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ ควรจะใช้เครื่องระดับ 486X ขึ้นไปแรม 16 เมกขึ้นไป
      1.2)โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine)โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไป ได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดืจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกซะก่อน โมเด็มสามรถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้

       1.3.1)โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆเลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท ์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย         
       1.3.2)โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1.3.3)PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็น โมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆกับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายในในปัจจุบันนี้โมเด็มม ีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด


          2.วิธีการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
    
       เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมาก น้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของ ผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวก รวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่า บริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่ว ไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุม ดูแลการโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูก ขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษี กลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนัก พอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าว นี้เป็นความจริง นอก จากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้น วรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับ อินเทอร์เน็ตได้ ความคิด เช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้าง หน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่สี่วิธี 
       การติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุด ด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้ กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารบรมฯนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection)การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดย ตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบ อนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อ ทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็น ภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การ ใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียว กับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection)การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาtอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มี เครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร ์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดย ใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียง จอ ของ เครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต แต่ประการใด แต่ในขณะ ที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่อง ไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจาก บทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอน ข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับ การติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอชการติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่า เราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศุนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่อง จากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอา การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุด ด้วย เช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือน กับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียง จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ หรืออีเมล์ เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เรา ใช้ได้ก็คือจดหมายอิเล็คโทรนิคส์
การเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Connection)      
การนำระบบคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกระทำได้ 2 ลักษณะคือ
      1. การเชื่อมต่อโดยตรง เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (backbone) ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เราเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยจะต้องขอชื่อโดเมนกับ InterNIC ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้สามารถติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้มีราคาแพงมาก ทั้งด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา
      2. การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้าระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้บริการต้องสมัครเป็นสมาชิกและเสียค่าบริการตามที่แต่ละ ISP กำหนดการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภทตามความต้องการของสมาชิก ดังนี้
       - การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Corporate User Services) สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานใดที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากและมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้งานภายในอยู่แล้ว สามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของตนเข้าเชื่อมต่อกับ ISP ตลอด 24 ชั่วโมงซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คู่สายเช่า (Lease line) ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทาน ร่วมกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า "เราเตอร์" (Router) ดังรูป

          - การเชื่อมต่อส่วนบุคคล (Individual User Services) สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เชื่อมต่อโดยใช้โทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า "โมเด็ม" (Modem) ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า "ISP" (Internet Service Provider) โดย ISP ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อให้ผู้ใช้ติดต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งผู้ใช้บริการต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP
ประเภทของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
           การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
            1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up   เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
- อุปกรณ์มีราคาถูก
- การติดตั้งง่าย
- การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
         2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
  1. ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
  2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
  3. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อมกับการเล่นอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
        3.การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
  1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
  2. บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
  3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
  4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้

        4. การเชื่อมต่อแบบ Cable เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
  1. ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
  2. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
        5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
  1. จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
  2. ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
  1. ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
  2. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
  3. ค่าใช้จ่ายสูง 
    โปรโตคอล ( Protocal)
      ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล(Protocol) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk
         NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface) เป็นโปรโตคอลที่ใช้กับเครือข่ายแบบไมโครซอฟต์ (Microsoft Network) ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ โปรโตคอลชนิดนี้เหมาะในการใช้งานเครือข่ายขนาดเล็ก และไม่สามารถ Route ผ่านอุปกรณ์หาเส้นทาง (Router)ได้ทำให้ไม่สามารถใช้งานในเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเตอร์เน็ตได้
           IPX/SPX (Inter-network Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange)  เป็นโปรโตคอลที่พัฒนาโดยบริษัท โนเวลเพื่อใช้กับระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ โปรโตคอลชนิดนี้สามารถ Route ผ่าน Router ได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำ
          TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)  เป็นโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ในระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิดที่อยู่ห่างไกลกัน ต่อมาได้พัฒนาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรโตคอลนี้เหมาะสำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งใกล้และไกลเข้าด้วยกัน และมีมาตรฐานรองรับทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถสร้างอุปกรณ์และโปรแกรมที่จะรองรับการทำงานของโปรโตคอลนี้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลกันได้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หรือจะใช้ระบบปฏิบัติการอะไรก็ตาม TCP/IP เป็นชุดโปรโตคอลที่ประกอบด้วยโปรโตคอลต่างๆ หลายโปรโตคอล แต่ละโปรโตคอลมีคุณลักษณะและมีความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน ในที่นี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดและคุณสมบัติของโปรโตคอลที่สำคัญบางโปรโตคอลเท่านั้น คือ
              1. FTP (File Transfer Protocol) ใช้ในการรับ-ส่ง แฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายและเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะต้องมีโปรแกรมให้บริการ FTP (FTP Server) ติดตั้งและทำงานอยู่ เพื่อให้เครื่องลูกข่ายที่รันโปรแกรม FTP Client สามารถเข้ามาขอใช้บริการได้ นอกจากรับส่งแฟ้มข้อมูลแล้ว FTP ยังมีคำสั่งที่ใช้ในการแสดงชื่อแฟ้มข้อมูลบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เปลี่ยนชื่อแฟ้มหรือลบแฟ้มข้อมูล
         2. TELNET เป็นบริการที่ให้เครื่องลูกข่ายสามารถเข้าไปใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยการจำลองตัวเองให้ทำงานเป็นเทอร์มินัล ผู้ใช้งานจะต้องใส่รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อแจ้งการเข้าใช้เครื่อง เมื่อเข้าไปได้แล้วการทำงานต่างๆจะเหมือนกับการเข้าไปทำงานที่หน้าจอของเครื่องเซิร์ฟเวอร์
         3. SMTP เป็นการให้บริการเพื่อรับส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (E-Mail) โดยที่ SMTP จะมีตู้ไปรษณีย์เพื่อทำหน้าที่รับจดหมายจากผู้อื่นที่ต้องการส่งให้ และเก็บจดหมายของผู้ใช้ที่ต้องการส่งไปยังผู้ใช้อื่น เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ตั้งไว้โปรแกรมจะทำการส่งจดหมายออกและรับจดหมายเข้ามา ผู้ใช้ก็สามารถจะเปิดอ่านได้เมื่อต้องการ ส่วนการรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ SMTP Server ในลักษณะที่เป็น Client/Server จะใช้โปรโตคอลที่ชื่อว่า POP3 (Post Office Protocol)
         4. HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ WWW Server (World Wide Web) โดยที่เอกสารนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เขียนในภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เอกสารแต่ละชิ้นจะสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารชิ้นอื่นได้ ซึ่งเอกสารที่ถูกเชื่อมโยงนี้อาจจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือต่างเครื่องกันก็ได้
         5. DNS ( Domain Name System) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่ายทุกตัวจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในการระบุตัวเองคล้ายกับชื่อ-นามสกุลของคนเรา หมายเลขที่กล่าวมานี้เรียกว่า IP Address โดยเขียนในลักษณะนี้ 203.154.126.134 การจดจำ IP Address เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการจำชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงเกิดการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่จะให้บริการการสอบถามชื่อเครื่องและ IP Address ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า Domain Name Services ในการใช้งานนั้นผู้ใช้เพียงแต่ระบุ IP Address ของเครื่องที่ให้บริการนี้แล้วเมื่อต้องการจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต DNS จะช่วยค้นหา IP Address ของเครื่องที่ต้องการให้เพื่อให้โปรแกรมสามารถใช้ IP Address ที่ได้ในการติดต่อ

IP Address
         IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด IP Addressที่ใช้กันอยู่นี้เป็นตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์
11101001/ 11000110/ 00000010/ 01110100  แต่เมื่อต้องการเรีย กIP Address จะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก จึงแปลงเลขBinary หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ (8 บิต)ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น 11101001 11000110 00000010 01110100 158 . 108 . 2  . 71
         เมื่อตัวเลข IP Address จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกำหนดให้กับเครื่อง และอินเทอร์เน็ตเติบโตรวดเร็วมาก เป็นผลทำให้ IP Address เริ่มหายากขึ้น 
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึงได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
          1. Network Address
          2. Computer Address

การแบ่งขนาดของเครือข่าย

         เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
       Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
       Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
       Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233)
เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข
nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address

       IP Address แต่ละกลุ่มที่ได้รับการจัดสรร จะได้รับการควบคุมการกำหนดเส้นทางโดยอุปกรณ์จำพวก เราเตอร์ และสวิตชิ่งทำนองเดียวกัน หน่วยงานย่อยรับ IP Address ไปเป็นกลุ่มก็สามารถนำ IP Address ที่ได้รับไปจัดสรรแบ่งกลุ่มด้วยอุปกรณ์เราเตอร์หรือ สวิตชิ่งได้ การกำหนด IP Address จะต้องอยู่ภายในกลุ่มของตนเท่านั้น มิฉะนั้นอุปกรณ์เราเตอร์จะไม่สามารถทำงานรับส่งข้อมูลได้


DNS ( Domain Name System) 

        การแทนหมายเลขไอพีด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการนั้น เรียกว่า ระบบชื่อโมเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS) โดยจะจัดเก็บชื่อและหมายเลขไอพีลงในฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ชื่อโมเมน (Domain Name Server) หน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center) ได้กำหนดรหัสโมเมนระดับบนสุด (Top-Level Domain Name) ให้เป็นมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ โดยโครงสร้างฐานข้อมูลชื่อโมเมนระดับบนสุดจะบอกถึงประเภทขององค์กรหรือชื่อประเทศที่เครื่อขายตั้งอยู่ ดังตาราง


รหัสโมเมน
ใช้สำหรับ
ตัวอย่าง
comกลุ่มธุรกิจการค้า (Commercial organization)sun.com
eduสถาบันการศึกษา (Educational institution)ucla.edu
govหน่วยงานของรัฐบาลที่ไม่ใช้หน่วยงานทางทหาร (Government agency)nasa.gov
milหน่วยงานทางทหาร (Department of Defence and other Military sites)army.mil
netหน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (Networking)isp.net
orgหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร (Private organization)unesco.org
                      ตารางแสดงรหัสโดเมนแทนแทนประเภทของหน่วยงาน
       ในกรณีที่เครือข่ายนั้นอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้ชื่อย่อยของประเทศเป็นชื่อโดเมนระดับบนสุด ดังตัวอย่างในตาราง



รหัสโดเมน

ประเทศ

รหัสโดเมน

ประเทศ
au
ออสเตรเลีย
ie
ไอร์แลนด์
at
ออสเตรีย
jp
ญี่ปุ่น
ca
แคนนาดา
th
ไทย
dk
เดนมาร์ค
uk
อังกฤษ

ตารางแสดงรหัสโดเมนแทนชื่อประเทศ
        สำหรับในประเทศไทยจะมีโดเมนระดับบนสุดคือ th และมีรหัสโดเมนย่อยแทนประเภทของหน่วยงานอยู่ 3 กลุ่ม คือ




รหัสโดเมน

ใช้สำหรับ

ตัวอย่าง
or
กลุ่มธุระกิจการค้าnectec.th
ac
สถาบันการศึกษาchula.ac.th
go
หน่วยงานของรัฐบาล (ที่ไม่ใช่หน่วยงานทางทหาร)mua.go.th

ตารางแสดงรหัสโดเมนย่อยในประเทศไทย

       จำนวนเครือข่ายที่มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนในเดือนมกราคมปี 1997 มียอดสูงสุดถึง 16 ล้านเครื่อง ดังแสดงชื่อโดเมนระดับบนสุดบางส่วนในตาราง




Domain

Meaning

Hosts

Domain

Meaning

Hosts
TOTAL16146360brBrazil77148
comCommercial3965417krKorea, Republic Of66262
eduEducational2654129beBelgium64607
netNetworks1548575plPoland54455
jpJapan734406ruRussian Federation50097
deGermany721847hkHong Kong49162
milUS military655128czCzech Republic41164
caCannada603325ilIsrael38494
ukUnited Kingdom591624twTaiwan34650
usUnited States587175huHungary29919
auAustralia514760mxMexico29840
govGovernment387280sgSingapore28892
rgOrganizations313204ieIreland27059
fiFinland283526ptPortugal26077
nlNetherlands270521myMalaysia25200
frFrance245501cnChina19739
seSweden232955suSu19094
noNorway171686grGreece15925
itItaly149595clChile15885
chSwitzerland129114siSlovenia14051
esSpain110041trTurkey13194
dkDenmark106476arArgentina12688
zaSouth Africa99284isIceland11667
atAustria91938idIndonesia9591
nzNew Zealand84532thThailand9245
ตารางแสดงจำนวนเครื่องที่จดรหัสชื่อโดเมนแยกตามโดเมนระดับบนสุด

         นอกจากนี้ เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ต ทำให้การแบ่งชื่อโดเมนตามประเภทขององค์การเริ่มไม่เพียงพอ จึงกำลังมีการพิจารณาที่จะเพิ่มชื่อโดเมนระดับบนสุดเพิ่มขึ้นอีก 7 ชื่อ ดังตาราง




รหัสโดเมน

ใช้สำหรับ
firm
องค์กรทางธุรกิจ
store
บริษัทที่มีการค้าขายสินค้า
web
สำหรับไซต์ที่เน้นทางด้าน World Wide Web
art
สำหรับไซต์ทางวัฒนธรรม
into
บริการสารสนเทศ
nom
สำหรับไวต์เฉพาะบุคคล
rec
สำหรับไซต์ด้านความบันเทิง
ตารางแสดงรหัสโดเมนแทนประเภทของหน่วยงานชุดใหม่
การขอจดทะเบียนโดเมน
       การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี   2  วิธี ด้วยกัน  คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับww.thnic.net
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
         .com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
      .edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
      .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
      .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
      .net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจด้านเครือข่าย
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
      .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
      .co.th ย่อมาจาก Company Thailandสำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
      .go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
      .net.th ย่อมาจาก Network Thailandสำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
      .or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
      .in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network)

        ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
        ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สายที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
        ปัจจุบันนี้ โลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องปาล์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
- หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน๊ตบุ๊คเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ท จากสนามหญ้าในมหาลัยได้
- นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
จุดเด่นของเครือข่ายแลนไร้สาย
      การใช้งานคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นงานที่ต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อเครือข่ายจึงมีพัฒนาการอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบการเชื่อมโยงแบบต้องใช้สาย ซึ่งมีแลนแบบอีเทอร์เน็ตเป็นฐานใหญ่ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อด้วยสายยูทีพีผ่านฮัพ ทำให้เข้าสู่ เครือข่ายด้วยความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที อีกด้านหนึ่งคือการเชื่อมด้วยสายโทรศัพท์โดยเฉพาะการใช้โมเด็ม และ ADSL ที่เปิดบริการกันมาก อยู่ในขณะนี้
      จุดเด่นของระบบแลนไร้สายมีหลายประการ โดยเฉพาะในอดีตปัญหาทางเทคโนโลยีเป็นข้อจำกัด เพราะไม่สามารถสร้างระบบ VLSI (วงจรรวมขนาดใหญ่มาก) ที่ใช้งานย่านความถี่สูงมาก กินกำลังไฟฟ้าต่ำ มีขนาดเล็กและเบา ปัจจุบันสามารถพัฒนาวงจร CMOS ซึ่งเป็นหัวใจของ การผลิตชิปที่มีวงจรซับซ้อน ให้กินกำลังงานไฟฟ้าต่ำมาก และใช้กับความถี่สูงย่านไมโครเวฟได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ระบบแลนไร้สายจึงตอบสนอง ความต้องการเด่น ๆ ต่อไปนี้ได้
       ความยืดหยุ่นในการใช้งาน สภาพปัจจุบันผู้ใช้งานมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เรียกว่าโน้ตบุ๊คกันเป็นส่วนใหญ่ โน้ตบุ๊คมีขนาด เล็กลงจนสามารถนำติดต่อไปใช้ที่ต่าง ๆ ได้สะดวก การนำโน้ตบุ๊คต่อกับสายแลนจึงไม่สะดวก การนำโน้ตบุ๊คต่อกับสายแลนจึงไม่สะดวก อีกทั้งสภาพ การทำงานเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้ไม่ถูกยึดติดอยู่กับที่ เช่น การนำโน้ตบุ๊คเข้าประชุม การปรึกษาหรือระหว่างกลุ่มย่อย แลนที่ใช้ถ้าเป็น ระบบสายจะยุ่งยากในการปรับเปลี่ยน แต่สำหรับแลนไร้สายจะประกอบด้วย การ์ดไคลเอนต์ ซึ่งเป็นแผนวงจรขนาดเล็ก ขนาด PCMCIA ที่ต่อเข้ากับ โน้ตบุ๊คเท่านั้น และส่วนที่เป็นแอ็กเซสพอยต์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อที่นำไปวางไว้ที่ใดก็ได้ หรือจะติดยึดกับฝาผนัง ฝ้า เพดาน หรือจะเคลื่อนย้ายไปที่ใด ก็ได้ โดยด้านหนึ่งรับสัญญาณวิทยุ อีกด้านหนึ่งเป็นสายต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่าย การติดตั้งแลนไร้สายจึงทำได้ง่ายกว่ามาก ความยืดหยุ่นจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการติดตั้งทำได้ง่าย โดยเฉพาะการดำเนินงานเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ 
       การนำติดตัว (Mobility) การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้อาจไม่เฉพาะเจาะจงอยู่ในที่ทำงานอย่างเดียว อาจครอบคลุมเลยไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนาการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยผู้ใช้ติดตั้งไปเฉพาะโน้ตบุ๊คก็สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ 
       การขยายเครือข่ายได้ง่าย เครือข่ายแบบแลนไร้สายทำให้เครือข่ายองค์กรปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยากในเรื่อง การเดินสายสื่อสาร ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสถานที่ การปรับปรุงสถานที่เพื่อเดินสายสัญญาณเป็นเรื่องไม่พึงปรารถนาเครือข่ายไร้สายสามารถครอบคลุม พื้นที่เป็นเซลเล็ก ๆ โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาคารได้ด้วยระบบแบบจุดไปจุด ทำให้ดำเนินการได้เร็วและสะดวกต่อการติดตั้ง
      ให้ผลคุ้มค่า การออกแบบสร้างเครือข่ายแลนแบบไร้สาย เริ่มให้ผลตอบแทนต้องการลงทุนคุ้มค่ามากขึ้น ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์เชื่อมโยง ระบบแลนไร้สายมีแนวโน้มที่ถูกลง จึงสามารถชดเชยกับสิ่งที่เรียกว่าการลงทุนการเดินสายสัญญาณและความคล่องตัวในการออกแบบ ปัจจุบันมูลค่า ของการ์ดแลนมีราคาขายในท้องตลาดทั่วไปประมาณ 200 เหรียญสหรัฐ แนวโน้มนี้ยังคงมีราคาลดลงอีก สำหรับอุปกรณ์ที่เป็นแอ็กเซสพอยต์ก็มี แนวโน้มที่ลดลงเช่นกัน ระบบแลนไร้สายแบบจุดไปจุดสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยระยะทางไกลถึง 25 ไมล์ ซึ่งทำให้ประหยัดในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ลงไปได้มาก
ประเภทของเครือข่ายไร้สาย
เครือข่ายแลนไร้สายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.WPAN(Wireless Personal Area Network) เป็นระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล ปัจจุบันมีอยู่สองระบบที่รองรับการทำงานส่วนบุคคล คือ IR(Infra-Red) และ Bluetooth การทำงานจะครอบคลุมบริเวณการสื่อสารที่ค่อนข้างจำกัด เช่นอินฟาเรด ระยะปะมาณไม่เกิน 3 เมตร และบลูทูธ ระยะไม่เกิน 10 เมตร
2.WLAN(Wireless Local Area Network) เป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้งานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในระยะใกล้ ภายในหน่วยงานหรืออาคารเดียวกัน เช่น สำนักงาน บริษัท หรือสถานที่จัดนิทรรศการ
3.WMAN(Wireless Metropolitan Area Network) เป็นระบบเครือข่ายสำหรับเมืองใหญ่ๆ มีระบบเครือข่ายที่หลากหลายมักใช้เชื่อมต่อสื่อสารกันระหว่างอาคารต่างๆภายในเมือง
4.WWAN(Wireless Wide Area Network)
เป็นระบบเครือขายไร้สายขนาดใหญ่สำหรับเมืองหรือประเทศซึ่งมักมีการใช้งานผ่านดาวเทียม
ข้ามประเทศ

มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย
       เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมีข้อกำหนดระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนำสัญญาณ 3 ประเภทให้เลือกใช้งานอันได้แก่ คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์, 2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วน.ในระดับชั้น MAC Layer นั้นได้กำหนดกลไกของการทำงานแบบ CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย โดยมีกลไกในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศ พร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งานอีกด้วย
        มาตรฐาน IEEE 802.11 ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชันหลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่จำนวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น 

 ข้อดี
1. ช่วยลดปัญหาในการติดตั้งระบบเครือข่าย
2. ช่วยลดปัญหาในการวางสายระบบเครือข่าย
3. ไม่ต้องใช้สาย cable
4. ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย
ข้อเสีย
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
           ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
      • งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
      • การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
      • ระบบเครือข่าย LAN
      • การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting
ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL      

      • ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
      • ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
      • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
      • ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
      • ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
      • ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน
      • สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL
     ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี้
      • Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที
      • G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K
      • ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
อัตราความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที  ADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับ
ขีดความสามารถของ ADSL     

      เทคโนโลยีของ ADSL เป็นแบบ Asymmetric มันจะให้ Bandwidth การทำงานที่ Downstream จากผู้ให้บริการ ADSL ไปยังผู้รับบริการสูงกว่า Upstream ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ไปยังผู้ให้บริการ(ดังรูปที่ 1 และ 2)
                                  รูปที่ 1 แสดงความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลแบบ Upstream/Downstream
                                            รูปที่ 2 แสดงเปรียบเทียบความเร็วของระบบ
วงจรของ ADSL จะเชื่อมต่อ ADSL Modem ที่ทั้งสองด้านของสายโทรศัพท์ ทำให้มีการสร้างช่องทางของข้อมูลข่าวสารถึง 3 ช่องทาง ได้แก่
     • ช่องสัญญาณ Downstream ที่มีความเร็วสูง
     • ช่องสัญญาณ ความเร็วปานกลางแบบ Duplex (ส่งได้ทางเดียว)
     • ช่องสัญญาณที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน
     ช่องสัญญาณ Downstream ความเร็วสูง มีความเร็วระหว่าง 1.5-6.1 Mbps ส่วนอัตราความเร็วของช่องสัญญาณแบบ Duplex อยู่ที่ 16-640 Kbps นอกจากนี้ ในแต่ละช่องสัญญาณยังสามารถแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณย่อยๆ ที่มีความเร็วต่ำ ที่เรียกว่า Sub-Multiplex ได้อีกหลายช่อง
ADSL Modem สามารถให้อัตราความเร็วการส่งถ่ายข้อมูลมาตรฐานเทียบเท่า North American T1 1.544 Mbps และ European E1 2.048 Mbps โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการความเร็วได้หลายระดับ
ระยะทางและอัตราความเร็วของ ADSL       ระยะทางมีผลต่ออัตราความเร็วในการให้บริการของ ADSL เป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดความยาวสาย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด อุปกรณ์ Bridge Taps รวมไปถึงการกวนกันของอุปกรณ์ Cross-Coupled ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเสื่อมถอย(Attenuation) ของสัญญาณเกิดขึ้น เมื่อความยาวของสายทองแดงมีมากขึ้น รวมทั้งความถี่ ซึ่งค่านี้จะลดลงเมื่อเพิ่มขนาดของสาย อย่างไรก็ดี งาน Application ที่ต้องใช้บริการ ADSL ส่วนใหญ่ จะเป็นพวก Compressed Digital Video เนื่องจากเป็นสัญญาณประเภททำงานแบบเวลาจริง (Real-Time) ด้วยเหตุนี้ สัญญาณ Digital Video เหล่านี้ จึงไม่สามารถใช้ระบบควบคุมความผิดพลาด แบบที่มีอยู่ในระดับของเครือข่ายทั่วไป ดังนั้น ADSL Modem จึงมีระบบ ที่เรียกว่า Forward ErrorCorrection ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นโดยสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาสั้นมาก หรือที่เรียกว่า Impulse Noise โดย ADSL Modem จะใช้วิธีการตรวจสอบความผิดพลาดที่ทำงานบนพื้นฐานของ การกำหนดให้มีการตรวจสอบสัญญาลักษณ์ทีละตัว การทำเช่นนี้ ก็ยังช่วยให้ เป็นการลด ปัญหาการควบของสัญญาณรบกวนในสาย
การทำงานของ ADSL
       หลักการทำงานของ ADSL ไม่มีอะไรมาก เนื่องจากว่า สายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง มี Bandwidth สูงคิดเป็น หลายๆ MHz ดังนั้น จึงมีการแบ่งย่านความถี่นี้ออกเป็นส่วน เพื่อใช้งานโดยวิธีการแบบที่เรียกว่า FDM (Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคนิคการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นหลายๆช่อง โดยที่แต่ละช่องสัญญาณจะมีความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะได้ Bandwidth ต่างๆ ดังนี้
    • ย่านความถี่ขนาดไม่เกิน 4 KHz ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น Voice กับ FAX
    • ย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ จะถูกสำรองจองไว้ให้การรับส่งข้อมูล โดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น หลายย่านความถี่ เช่น ช่องสัญญาณสำหรับ การรับข้อมูลแบบ Downstream ตัวอย่าง เช่นการ Download ข้อมูล ส่วนช่องสัญญาณอื่นมีไว้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วต่ำกว่า Downstream ซึ่งเรียกว่า Upstream หรือสำหรับการ Upload ข้อมูล เป็นต้น (ดูรูปที่ 3 )
บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต
        เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ท ี่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรม ที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
       1. บริการด้านการสื่อสาร 
        1)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้
1. POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิก ในปัจจุบันนี้
2. SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
3. IMAP (Internet Message Access Protocol)
4. MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)
วิธีการทำงานของ POP3      
       POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอเน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอเน็ตตลอดเวลา
วิธีการทำงานของ SMTP
       วิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนัก
วิธีการทำงานของ IMAP
       เป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ
      1.1 Offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้
      1.2 Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server
      1.3 Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค นี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบเมล์ได้จากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องโดยไม่สับสน(ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ โน๊ตบุค ก็จะให้ผลเหมือนกันซึ่งจะต่างจาก POP ที่ทำให้สับสนเมื่อตรวจเมล์จากหลายๆเครื่อง) ซึ่งเราสามารถสรุปจุดเด่นของ IMAP ได้ดังนี้
       1. IMAP สามารถให้บริการในรูปแบบ remote ได้ดีกว่า (คือการควบคุมการใช้เมล์จากเครื่องเราไปยัง Server ) เช่น อ่านเมล์แบบออนไลน์ แยกเมล์กับส่วนประกอบเอกสาร (Attachment)ออกจากกันได้ เราสามารถเลือกดาว โหลดจดหมายมาเก็บไว้เครื่องเรา โดยทิ้งส่วนประกอบเอกสารไว้ที่ Server เพื่อดาวโหลดในภายหลังหรือยามว่าง
       2. IMAP สนับสนุนโฟลเดอร์แบบลำดับชั้นและสามารถแบ่งโฟลเดอร์ให้ใช้งานร่วมกันได้(folder hierarchies and folder sharing) ในขณะที่ POP ไม่สามารถทำได้
       3. IMAP อณุญาติให้ทำการค้นหาจดหมายหรือบางส่วนของจดหมาย รวมทั้งเลือกจดหมายที่ต้องการจะนำมาเก็บ ไว้ที่เครื่องเราได้ (การค้นหานี้จะทำโดย server ไม่ใช่ Client) แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่ IMAP protocol ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยนักเล่นอินเทอร์เน็ตทั้งหลายยังคงใช้ POP กันอยู่เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
1. POP3 นั้นได้ติดตั้งอยู่ในโปรแกรมชิอดังที่มีความสามารถลูกเล่นแปลกใหม่ที่ได้รับความนิยมของ user ทั่ว ไปในขณะที่ IMAP นั้นยังไม่ค่อยมีโปรแกรมที่พัฒนามากนัก
2. การใช้ IMAP นั้น จะต้องใช้ทรัพยากรของเครื่อง Server มากขึ้นทำให้เครื่องที่เป็น server ต้องทำงานหนักขึ้น อย่างมากจึงต้องเสียค่าบริการราคาแพง แต่ POP นั้นมีให้บริการฟรีทั่วไปในโลก Cyber space
3. IMAP นั้นจะต้องใช้เวลาในการติดต่อนานกว่า เนื่องจากมีกิจกรรมที่จะต้องส่งข้อมูลระหว่าง Client กับ server เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกันซึ่งต่างกับ POP คือดึงข้อมูลมาแล้วก็หมดหน้าที่
วิธีการทำงานของ MIME     
         เนื่องจากอีเมล์สมัยแรกที่เริ่มต้นในระบบอินเทอเน็ตจะมีค่าแค่เพิ่งเครื่งมือในการส่งข้อความสั้น โดยที่คุณ ไม่สามารถที่จะแนบเอกสารหรือรูปภาพที่คุณชอบส่งไปได้ จนกระทั่งได้มีการพัฒนา กำหนด Protocol ใหม่ที่ชื่อว่า MIME ซึ่งเป็มาตรฐานในการเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลหลายชนิดไปรวมกับ E-Mail ผ่านอินเทอเน็ตซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ม ีไฟล์ประเภทไหนที่ MIME ไม่รู้จัก เราจึงสามารถส่งไฟล์ทุกประเภทไปพร้อมกับ E-mail ได้ โดยมีวิธีการคือแปลง ไฟล์รูปภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ให้มาอยู่ในรูปแบบตัวอักษร MIME เป็นตัวมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับจุดประสงค์ที่หลากหลายจากการใช้งาน internet Mail ทั้งนี้เพื่อ ขยายประโยชน์ใช้สอบของอีเมล์ได้มากขึ้น แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน MIMEสามารถใช้ร่วมกับการเก็บไฟล์ของส่งผ่าน ไปทางมาตรฐาน SMTP และ UUCP รวมถึง BitNet X.400 SNADS PROFS และยังมีความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ ที่ต่างกันแต่ชนิดของซอฟแวร์ที่ใช้ต่างกันได้        
           2) สนทนาแบบออนไลน์ (Chat)
          ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนลายน ์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัย Protocol ช่วยในการติดต่ออีก Protocol นึงซึ่งมีชื่อว่า IRC(Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็น protocol อีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอเน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ
        1.มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร ์คือคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อลองรับ User หลายคน
        2.เครื่องของเราจะทำหน้ามี่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอเน็ตได้แบบธรรมดาโดย ที่ไม่ต้องารทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้
        พื้นฐานการทำงานของ IRC
              เมื่อเครื่องของเราสามารถติดต่อกับ Server ได้แล้ว server นั้นจะมีการแบ่งช่องสนทนาออกเป็นกลุ่มๆ(Channel) หรืออาจจะเรียกว่า ห้องสนทนาก็ได้โดยเมื่อเราเข้าสู่ server แล้วเราจะมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (Nickname) เมื่อเราพิมข้อความลงไปข้อความนั้นก็จะส่งผ่าน server และไปปรากฏยังเครื่อง Client ของสมาชิกแต่ละคนในห้องนั้น ไม่ใช่แค่ข้อความสั้นๆอย่างเดียวผู้ใช้ IRC ยังสามารถที่จะส่งไฟล์ภาพ เสียง วีดีโอ หรือไฟล์ทุกชนิดกันได้โดยตรง ในปัจจุบัน การเล่น IRC ไม่ได้มีแค่ข้อความธรรมเท่านั้น ยังมีการสนทนา ที่ใช้ protocol IRC เช่นเดียวกันอีกแต่ว่า เราสามารถที่จะสมมุติรูปร่างหน้าตา เสื้อผ้า ทำหน้าตายิ้มแย้ม โกรธ โดยอาจจำลองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือน VR (Virtual Realiity)ซึ่งจะเป็น ภาพ 3 มิติ เราสามรถที่จะเดินเข้าห้อง ออกจากห้อง จับมือ กับผู้ใช้คนอื่นได้ และอื่นๆ อีกมากมายได้ ซึ่งในปัจจบันก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก IRC เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างกล่าวคือเป็นใครก็ได้ที่จะเข้ามาร่วมก็ได้รวมทั้งไม่มีขีดจำกัดหรือกฏ เกณฑ์ใดๆมากมาย นัก เพราะฉนั้น IRC จึงเป็นศูนย์รวมที่สามารถรวบรวมผู้คนหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวัย อาชีพ ประสบการณ์ต่างๆมาไว้ได้อย่างกลมกลืน แต่ว่าแต่ละคนต่างก็มีความสนใจในการที่จะเข้าช่องสนทนาต่างๆกัน
          3) กระดานข่าว
             เป็นข้อความบรรยายในส่วนของข่าวนั้นๆ ซึ่งอาจมีความยาวของเนื้อข่าวเพียงบรรทัดเดียว หรือมีเนื้อข่าวยาวหลายๆ หน้าก็ได้ เนื้อข่าวจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อข่าวและกลุ่มข่าวสารที่ได้รับการจัดกลุ่มเอาไว้เสมอ ส่วนลงท้ายหรือ ที่เรียกว่า Signature ส่วนลงท้ายนี้จะบอกถึงรายละเอียดของผู้ส่งข่าวชิ้นนี้ เช่นอาจจะบอกชื่อ นามสกุล E-mail address และข้อความลงท้ายข่าวนั้นๆ เครื่องที่ให้บริการ Usenet นั้นจะมีการจัดการกับข่าวที่เข้ามา โดยเมื่อได้รับข่าวเข้ามา ใหม่ ก็จะใส่หมายเลขประจำข่าวนั้นให้ หมายเลขที่ว่านี้จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 จากของเดิมที่มีอยู่ในแต่ละกลุ่มข่าว เช่น กลุ่มข่าวชื่อ comp.answers มีหัวข้อข่าวอยู่ 1720 ชิ้น เมื่อได้รับข่าวใหม่เข้ามา ข่าวชิ้นนั้นจะได้รับหมายเลขประจำข่าว เป็น 1721 และเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเลขสูงสุดที่ตั้งเอาไว้ก็จะวนกลับไปใช้เบอร์ 1 ใหม่ ข่าวที่ได้รับเข้ามา จะมีกำหนดหมดอายุตามที่คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Usenet ผู้กำหนดเอาไว้ เมื่อข่าวนั้นหมดอายุก็จะถูกลบออกจาก กลุ่มข่าวและหมายเลขประจำข่าวนั้นก็จะว่างลง แต่หมายเลขที่ว่างลงนี้จะยังไม่ถูกนำไปใช้ จนกว่าจะมีการวนกลับไป ที่เลข 1 ใหม่ก่อน ทำให้บางครั้งเมื่อเราเรียกดูหัวข้อข่าวจากกลุ่มข่าวสารใน Usenet จะเห็นหมายเลขประจำข่าวอาจ เริ่มต้นจาก 845 ไปถึง 1720 ก็ได้ ซึ่งหมายความว่าข่าวตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 844 หมดอายุและถูกลบออกจากคอมพิวเตอร์
              2.บริการด้านข้อมูล
         ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหรือหัวข้อใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ในอินเตอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของขอมูลนั้นๆเก็บข้อมูลเพื่อ เผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษาค้นคว้าและเตรียมข้อมูลลงได้มาก และเปรียบเสมือน มีห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที
      1) FTP (File Transfer Protocol) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่างๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูลเหล่าน ี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า "คัดลอก" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริงๆ แล้วไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่วๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกลๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่างๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ Commercialware
        Freeware หมายถึงโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ไปใช้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ผู้ที่ถ่ายโอนไฟล ์ไปสามารถให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ต่อไปได้อีกเช่นกัน แต่จะต้องไม่นำโปรแกรมนั้นไปขายโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้พัฒนาทราบ
       Shareware หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อตั้งใจจะขาย โดยอนุญาตให้ผู้ที่สนใจถ่ายโอนไฟล์โปรแกรมไปลอง ใช้งานก่อนโดยที่ยังไม่ต้องจ่ายเงิน เมื่อใช้แล้วชอบและต้องการซื้อก็ค่อยจ่ายเงินภายหลังซึ่งมักจะมีราคาไม่สูง
       Commercial ware  หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่เราจะต้องจ่ายเงินซื้อก่อนจึงจะได้โปรแกรมนั้นมาใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มักจะมีเพียงรายละเอียดให้ดูได้ในอินเตอร์เน็ต ไม่มีโปรแกรมตัวอย่างให้ถ่ายโอนไฟล์ ส่วนใหญ่โปรแกรมทั่วไปที่มีผู้นิยมถ่ายโอนไฟล์มาใช้มักจะเป็นประเภท Shareware เพราะราคาถูก เราสามารถลองใช้งานได้ก่อนที่จะซื้อ และผู้พัฒนาจะพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่องมากกว่าโปรแกรมประเภท Freeware ดังนั้น Shareware จึงได้รับความนิยมมากในโลกของอินเตอร์เน็ต ในการใช้คำสั่ง FTP เพื่อทำการถ่ายโอนไฟล์ เราสามารถ ทำได้ทั้งในการใช้บริการแบบตัวอักษรและแบบกราฟิก ซึ่งการทำงาน 2 แบบนี้จะมีความแตกต่างอยู่บ้าง โดยที่การใช้ คำสั่ง FTP ในแบบตัวอักษรนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นพีซี แมคอินทอช หรือเครื่องแบบอื่นใดก็ตาม ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกรวมๆ ว่า "คอมพิวเตอร์ของเรา" หรือ Workstation ("เวิร์กสเตชั่น") จะทำหน้าที่เป็นเพียงจอ เทอร์มินัลจอหนึ่งบนเครื่องของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราติดต่ออยู่เท่านั้น ซึ่งเครื่องของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ในที่นี้จะขอเรียกว่าเป็น "เซิฟเวอร์ของเรา" หรือ Local Server ("โลคัลเซิฟเวอร์") หรือ Local Host ("โลคัสโฮสต์") ดังนั้นการใช้คำสั่ง FTP จะเป็นการโอนไฟล์จากเครื่องที่เป็น FTP Server ทางอีกฟากหนึ่งของอินเตอร์เน็ต หรืออาจ เรียกว่าเป็น Remote Server ("รีโมตเซิฟเวอร์") หรือ Remote Host ("รีโมตโฮสต์") มายังโลคัลเซิฟเวอร์เท่านั้น หากจะนำไฟล์เหล่านั้นมาใช้งานก็จะต้องทำการโอนไฟล์จากโลคัลเซิฟเวอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอีกทอดหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้โปรโตคอลหรือคำสั่งอื่นที่ไม่ใช่ FTP เช่น sz, kermit เพื่อส่งไฟล์และ z, kermit เพื่อรับไฟล์ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับโลคัลเซิฟเวอร์ไม่ได้ต่อกันด้วยโปรโตคอลแบบ TCP/IP แต่ถ้าใช้บริการอินเตอร ์เน็ตแบบกราฟิก เช่นใช้โปรแกรม WS_FTP ที่ทาง hg จัดเตรียมไว้ให้แล้วนั้น เราจะสามารถโอนไฟล์ข้อมูลจาก รีโมตเซิฟเวอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้โดยตรง และในทำนองเดียวกัน การโอนไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของเรา ไปยังรีโมตเซิฟเวอร์ใดๆ ในการใช้บริการแบบตัวอักษรก็จะต้องโอนไฟล์ไปพักไว้ที่โลคัลเซิฟเวอร์ก่อนแล้วค่อยโอน ไฟล์ด้วยวิธีการ FTP ไปยังรีโมตเซิฟเวอร์อีกชั้นหนึ่ง
        2) Archie ผู้ใช้บริการจะทำตัวเสมือนเครื่องลูกข่ายที่เรียกเข้าไปใช้บริการของ Archie Server ซึ่งจะเสมือนกับได้ดูว่าสถานที่ซึ่งม ีข้อมูลที่ตนต้องการอยู่ที่ใดก่อน จากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่นั้นโดยตรงต่อไป
        3)Gopher เป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับชั้น ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานได้สะดวก โปรแกรม Gopher นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นท ี่มหาวิทยาลัยมิเนโซตา านข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบเป็นฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่หลายแห่งแต่มีการเชื่อมโยงถึงกันเป็นขั้นๆ
        4)Hytelnet เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้หาชื่อโฮสต์และชื่อ Login พร้อมคำอธิบายโดยย่อของแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยการใช้งาน แบบเมนู เมื่อได้ชื่อโฮสต์ที่ต้องการแล้วก็สามารถเรียกติดต่อไปได้ทันที แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของบริการ Hytelnet นี้มักจะเป็นชื่อที่อยู่ของห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลก
        5)WAIS (Wide Area Information Service) เป็นบริการที่มีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและดัชนีสำหรับค้นหาข้อมูลจำนวนมากเอาไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาเมื่อเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลนั้น และยังมีการเชื่อมโยงกันไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นอีกปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลแบบ WAIS ให้ค้นหาได้หลายที่
         6)World Wide Web (WWW หรือ Web หรือ W3) เมื่อสักประมาณ 4 ปีที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญกล่าวกันว่า ประมาณการคร่าวๆ ว่ามีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ประมาณ 25 ล้านคน มีเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น ที่ใช้เวิร์ล-ไวด์-เว็บ ประมาณการอันนี้ดูจะถูกลบล้างโดยสิ้นเชิง จากการบันทึก จำนวนครั้ง (hit) ที่มีผู้เข้าใช้เว็บไซท์ของ Netscape ผู้เป็นเจ้าพ่อของโปรแกรมอ่านเว็บเพจ เพราะในช่วงประมาณต้น ปีที่ผ่านไปนี้ มีผู้เข้าใช้มากถึง 35 พันล้านครั้งต่อหนึ่งวัน และจากสถติที่มีผู้รวบรวมไว้ แม่ข่ายบริการเว็บเพจ หรือท ี่เรียกว่าเว็บไซท์นั้น มีมากถึง 10 ล้านแห่งเข้าไปแล้ว เห็นได้ชัดว่า บริการเวิร์ลไวด์เว็บ กำลังเติบโตในอัตราเร่งสูงสุด ถ้าจะให้จัดลำดับ บริการเวิร์ลไวด์เว็บ มีผู้ใช้บริการมากรองเป็นอันดับสอง จากบริการอีเมล์เท่านั้นเอง จะไม่ให้มีผู้ใช้งาน และให้บริการมากมายขนาดนี้ได้อย่างไร ก็เพราะ บริการทั้งข้อมูลข่าวสาร ที่แต่เดิมทำกันบนแม่ข่าย Telnet (ผ่านทางเมนู Gopher) และบริการไฟล์ที่ทำกันบนแม่ข่าย FTP ล้วนแล้วแต่สามารถให้บริการบนเวิร์ลไวด์เว็บ ในรูปแบบที่สวยงาม และเข้าใจง่ายกว่ากันมาก แถมบริการเวิร์ลไวด์เว็บ ยังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกระทั่งสามารถ สื่อสารกันด้วยมัลติมิเดีย และแม้แต่วิดิโอเต็มจอภาพได้ในอนาคต และที่สำคัญ เครื่องพีซีที่เชื่อมเข้าระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต กลายเป็นหน่วยหนึ่ง ของเครือข่ายในทันที ไม่ใช่เครื่องรีโมท ที่ขอเข้าไปใช้งานหน้าจอเครื่องลูก นเครือข่ายยูนิกซ์เหมือนอย่างแต่ก่อน ซึ่งนั่นก็คือ เครื่องพีซีที่ใช้บริการเวิร์ลไวด์เวบนั้น สามารถติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายทั่วโลกได้โดยตรงด้วยศักยภาพเครื่องของตนเอง และด้วยโปรแกรมที่เรียกใช้งาน ตามที่ตนชอบและถนัด ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยโปรแกรม ในเครือข่ายยูนิกซ์อีกเลย เว็บ (Web) ก่อกำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี คศ. 1990 ที่ CERN ณ European Particle Physics Laboratory ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปัจจุบัน มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า World Wide Web Consortium (W3C) คอยกำกับดูแลการเติบโตของเว็บ Web Consortium ได้บัญญัติมาตรฐานขึ้นชุดหนึ่ง สำหรับการเพิ่มแม่ข่ายให้กับเวบ และเพื่อการสร้างหน้าจอของข่าวสาร ที่ปรากฏแก่สายตา ของผู้เข้าชมเว็บ หน้าจอเหล่านี้เรียกว่า หน้าเอกสารหรือเพจ ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ คือ HyperText Markup Language (HTML) โปรแกรมอ่านเว็บเพจความจริงก็คือ โปรแกรมที่แปลผลรูปแบบของเอกสาร HTML และแปลผลคำสั่งที่บรรจุอยู่ ทั้งโปรแกรมอ่านเว็บ และแม่ข่ายสื่อสารกัน ผ่านมาตรฐานอีกตัวหนึ่งคือ HyperText Transfer Protocol (HTTP) ซึ่งprotocol นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP เช่นกันWeb Consortium ได้ตีพิมพ์คุณลักษณะของ HTML และ HTTP ทำให้ทุกๆ คนบนอินเตอร์เน็ต สามารถสร้างเอกสารเว็บได้อย่างสะดวกง่ายดาย การสร้างสิ่งพิมพ์เว็บใหม่ที่ง่าย และเป็นแบบเปิดนี้ ทำให้มีแหล่งข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ เอกสารเว็บจำนวนมหาศาล และการเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายมากมาย ถูกสร้างขึ้นจากสังคมอินเตอร์เน็ตไม่ใช่จากองค์การควบคุม Web แต่อย่างใด
Web browser คืออะไร

     
       web browser หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

                                            Internet Explorer(IE) 

คือ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์  Microsoft Internet Explorer ที่ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ เกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98, NT, MacOS นอกจากนี้ยังได้เพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน

 Opera
         Opera เป็น Web browser มีความพิเศษเหนือกว่า Web browser ที่ได้รับความนิยมทั้งจาก Netscape และ Microsoft คือ Opera มีขนาดเล็ก ส่วนประกอบต่อมา คือ เป็นเมนูหรือ "hotlist" ทำให้สามารถทำงานกับไดเรคทอรี่ของเว็บและไฟล์ bookmark ได้ โดย hotlist สามารถถอนออกได้ง่ายและมีพื้นที่ในการมองเห็นทีละหลายเว็บในเวลาเดียวกัน รวมถึงสามารถเลือกใช้การเปิด Web browser ด้วยเว็บที่เปิดดูครั้งสุดท้าย Opera มีความสามารถโดยทั่วไปดีกว่า Web browser ที่นิยมกันยกเว้นในเรื่อง Mail นอกจากนี้ Opera ยังให้ใช้แป้นพิมพ์ได้เหมือนกับเมาส์และสนับสนุน Java applet

     

                                              Nescape
           Netscape เป็นหนึ่งในสอง Web Browser ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เดิมเป็นของ Netscape Communications ปัจจุบัน เจ้าของคือ America Online (AOL) ถึงแม้ว่า Netscape จะได้รับแนะนำการใช้งานให้กับผู้ใช้ก่อน แต่ browser ของ Microsoft มีความสามารถที่ดีและมีผู้ใช้มากกว่า Netscape เดิมเรียกว่า "Navigator" และได้รับการเรียกชื่อนั้น ถึงแม้จะรวมเป็นชุดซอฟต์แวร์ เรียกว่า Communicator ก็ตาม Navigator ได้รับการพัฒนาในปี 1995 โดย Marc Andresen ผู้พัฒนา Mosaic ซึ่งเป็น web browser แรกที่เป็นแบบ GUI ที่ National Center for Supercomputing Application (NCSA), University of Illinois ในปี 1993
                                              
                                                          Firefox        
         Firefox ก็คือโปรแกรมที่ใช้ในการท่องอินเทอร์เน็ต ท่องเว็บไซต์ต่างๆ เหมือนกับ Internet Exploreโดยมีนักพัฒนาอยู่ทั่วโลก ทำเป็นภาษาท้องถิ่นกว่า 30 ภาษา ความโดดเด่นเฉพาะ ได้แก่ การป้องกันหน้าต่างโฆษณา การป้องกัน Adware ที่มาจากการท่องเว็บ มีลูกเล่นให้เลือกใช้มากมาย สามารถเปลี่ยน Theme ของโปรแกรมได้ด้วย


   
                                                Google Chrome
         Google Chrome คือ เว็บเบราว์เซอร์ใหม่สำหรับ Windows ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยทาง Google เอง และเป็นเบราเซอร์ที่รวมการออกแบบที่เรียบง่ายเข้ากับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเพื่อทำให้เว็บรวดเร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น และใช้งานง่ายขึ้น รายละเอียดบางส่วนของ Google Chrome ค้นหาจากแถบที่อยู่ พิมพ์ในแถบที่อยู่ และรับคำแนะนำสำหรับทั้งหน้าการค้นหาและหน้าเว็บ ภาพขนาดเล็กของเว็บไซต์โปรดของคุณ เข้าถึงหน้าเว็บโปรดของคุณได้ทันทีอย่างรวดเร็วจากแท็บใหม่ใดๆ ก็ตาม การเรียกดูส่วนตัว เปิดหน้าต่างที่ไม่ระบุตัวตนเมื่อคุณไม่ต้องการบันทึกไว้ในประวัติการเรียกดูของคุณ


Social Network คืออะไร
         Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เนทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น
  • Hi5
  • Friendster
  • My Space
  • Face Book
  • Orkut
  • Bebo
  • Tagged
เว็บ SNS (Social Network Site) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น
Hi5 (
www.hi5.com)
       เว็บ Hi5 เป็นเว็บที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 7 แสนคนสำหรับหลายคนที่รู้จักและใช้บริการอยู่คงจะไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะคงรู้จุดประสงค์และการใช้งานดีอยู่แล้ว แต่หลายๆคนยังไม่ทราบว่าเจ้า hi5 นี่ใช้งานยังไง มีทำไม และเพื่อประโยชน์อะไร
       Hi5.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการมาฝาก profile ของตัวเอง คล้ายๆกับ blog เนี่ยแหละ แต่ว่าคนไม่ค่อยไปเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นราวในนั้นซะเท่าไหร่ จะเน้นที่ตกแต่งหน้าตา profile เราให้สวยงาม ดึงดูดคนมาเข้า แต่จุดเด่นของมันอยู่ที่ ระบบ network ที่เรามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ หรือบังเอิญเจอเพื่อนเก่าสมัยมัธยมเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือเพื่อนของเพื่อน กิ้กเก่า แฟนเก่า .. แต่อีกหลายคนก็สมัครไปงั้นๆไม่ได้อะไรมากเพราะได้รับอีเมลชวนมาเล่น hi5 จากเพื่อน ...
ข้อดี      1. มีโอกาสได้เพื่อนใหม่ๆและ keep connect กับเพื่อนเก่าๆ ที่บางคนอาจจะเลือนหายไปกับความทรงจำ (แต่พอส่ง msg คุยกันก็ไม่รู้จะคุยไร เพราะมันห่างกันมานาน)
      2. การเก็บรักษาความส่วนตัว ก็ใช้ได้ระดับหนึ่ง คือ ยังไงๆถ้าเราไม่บอก ไม่ว่าใครก็ไม่รู้อีเมลเรา แต่ถ้าอยากให้รู้ก็เขียนบอกไปเลยก็ได้ หรืออยากรู้ msn ใครก็แมสเสจไปหาเขาตรงๆ
      3. วิธีการสมัครง่าย และวิธีการทำ hi5 ให้สวยงามก็ง่าย
      4. ข้อดีก็เหมือน blog ทั่วไปๆแหละเพียงแต่คนเล่นนิยม เพราะมันดูทันสมัยและใช้งานง่าย
ข้อเสีย      1. มีการพัฒนาเวบ อาจจะล่มบางครั้ง
      2. ใส่ลูกเล่นหรือปรับแต่งอะไรได้ไม่ค่อยเยอะ มันจะมี pattern อยู่แล้ว ก็จะปรับได้ส่วนของแบคกราวน์ สี font ตัวอักษร ใส่เพลง vdoclip ....
      3. ไม่มีประโยชน์เท่าบล้อก เพราะคนเข้ามาดูรูปส่วนใหญ่
Friendster (
www.friendster.com)
       Friendster
ได้ก้าวขึ้นมาสู่หัวแถวของ Social Network ในประมาณเดือนเมษายน ปี 2004 ก่อนจะถูกไล่แซงโดย My Space ในเรื่องของผู้เข้าชมและจากการจัดอันดับของ Nielsen//NetRatings Frienster ได้รับการยอมรับว่าเป็นคู่แข่งของทั้ง Windows Live Spaces, Yahoo! 360, และ Facebook ในเวลาต่อมาก็ยังมี Hi5 ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญอีกด้วย
Google เคยยื่นข้อเสนอขอซื้อ Friendster ในมูลค่า 30,000,000 $ แต่ถูกปฏิเสธ เพราะทาง Friendster ตัดสินใจว่าต้องการเป็นของส่วนตัวมากกว่าที่จะยื่นขายให้กับ Google หลายท่านที่มีประสบการณ์การใช้งานคงจำได้นะครับ จู่ๆ เราก็ได้รับอีเมล์จากเพื่อนของเราบอกว่าเข้าไปสมัครบริการนี้สิ เราก็เข้าไป ลงทะเบียน ใส่ข้อมูลส่วนตัว เสร็จแล้วเราก็พบว่า เรามี “เพื่อน” อยู่ในระบบทันที 1 คน (คือคนที่ชวนเรามานั่นเอง) หลังจากนั้นก็เราก็ชักคิดถึงเพื่อนคนอื่นๆ ก็ค้นหาจากระบบดูว่ามีเพื่อนเราคงไหนอีกไหมที่ใช้เว็บนี้เหมือนๆ กัน ก็ไปชวนเข้ามาอยู่ในกลุ่มเพื่อนเรา ใครที่ไม่อยู่ เราก็ส่งอีเมล์ไปชวนให้มาเข้าระบบเสีย หลังจากนั้นเราก็อาจเริ่มรู้จักเพื่อนใหม่ๆ จากในระบบนี้เอง … คงเป็นเพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมกระมังครับ เราถึงเสียเวลานั่งทำอะไรอย่างที่ว่าได้อย่างเพลิดเพลินและนั่นอาจเป็นเหตุผลว่าทำไม Friendster.com ถึงมีผู้ใช้งานกว่า 7 ล้านคนภายในปีเดียว  
My Space (
www.myspace.com)       
        My Space คือ เว็บบล็อก ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน ก็มีคำถามต่ออีกว่า เจ้า webblog คืออะไร สำหรับ เจ้า Web Blog ผมอยากให้เรานึกง่ายๆ ว่ามัน คล้าย ไดอะรี่ แต่ไม่ใช่นะครับ ย้ำ ว่า บล็อก ไม่ใช่ ไดอะรี่ โดยบล็อกจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหา ว่า จะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ส่วนหลายคนเอามาเป็น ไดอะรี่ นั้น ผิดไหม คงไม่ผิด คือมันแล้วแต่ว่า ผู้ดูแลจะเป็นอย่างไรข้อดี        1. มีลูกเล่นค่อยข้างมากกว่าที่อื่นไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Layout, Music ,Photo เป็นต้น รวมทั้ง
       2. มีการแสดงให้เห็นใน Contact list ของ MSN อีกด้วย (เป็นรูปดาวๆหน้าชื่อนั่นล่ะครับ )
       3. สามารถกำหนดสิทธิคนที่จะเข้าดูได้หลายระดับ
ข้อเสีย       1. เปิดดูได้ช้ามาก ยิ่งเน็ต 56K คงแทบหมดสิทธิ หากบล็อกมีลูกเล่นเยอะ
       2. ยังไม่สามารถใส่พวก script แบบไดอารี่ หรือ บล็อกในหลายๆ ที่ได้ 
       3. การเลือกจำนวนของ Entry หรือบทความที่จะแสดงในหน้าแรกของบล้อกได้ต่ำสุดที่ 5
       4. ความสามารถ ในส่วนของการกำหนดขนาดตัวอักษร ซึ่งผม ยังหาไม่เจอว่า มีการให้ใส่หรือ เลือกขนาดตัวอักษรสำหรับบทความได้ในจุดไหน ซึ่งอันนี้ผมคิดว่ามีความสำคัญทีเดียว การเล่นตัวอักษร เล็กใหญ่ มันช่วยเน้นข้อความและทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น สรุปใจความได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอ่านทั้งหมด ก็ได้ซึ่ง การเล่นสีและตัวหนา เพียงอย่างเดียว มันยังไม่มากพอ    
       มายสเปซ (MySpace) เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของเครือข่ายชุมชน ชื่อดังเว็บหนึ่ง ให้บริการทำเว็บส่วนตัว บล็อก การเก็บ ภาพ วิดีโอ ดนตรี และเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มคนอื่น มายสเปซมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เบเวอร์ลีย์ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
มายสเปซก่อตั้งเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดย ทอม แอนเดอร์สัน และ คริสโตเฟอร์ เดอโวล์ฟ ในปัจจุบัน มายสเปซมีพนักงานกว่า 300 คน และในตัวเว็บไซต์มีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 100 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนใหม่ประมาณ 200,000 คนต่อวัน
Face Book  (
www.facebook.com)       
        Mark Zuckerberg ก่อตั้ง Facebook เว็บชุมชนออนไลน์ (Social-Networking Site) ที่กำลังได้รับความนิยมสุดขีดในขณะนี้ เมื่อ 3 ปีก่อน ขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ที่เขาก่อตั้งขึ้น ด้วยวัยเพียง 22 ปี
        ภายในเวลาเพียง 3 ปี เว็บที่เริ่มต้นจากการเป็นเว็บชุมชนออนไลน์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย กลายเป็นเว็บที่มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียน 19 ล้านคน ซึ่งรวมถึงข้าราชการในหน่วยงานรัฐบาล และพนักงานบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ เข้าเว็บนี้เป็นประจำทุกวัน และขณะนี้กลายเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 6 ในสหรัฐ 1% ของเวลาทั้งหมดที่ใช้บน Internet ถูกใช้ในเว็บ Facebook
        นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บที่ผู้ใช้ Upload รูปขึ้นไปเก็บไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ โดยมีจำนวนรูปที่ถูก Upload ขึ้นไปบนเว็บ 6 ล้านรูปต่อวัน และกำลังเริ่มจะเป็นคู่แข่งกับ Google และเว็บยักษ์ใหญ่อื่นๆ ในการดึงดูดวิศวกรรุ่นใหม่ใน Silicon Valley นักวิเคราะห์คาดว่า Facebook จะทำรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีนี้
       Zuckerberg เพิ่งปฏิเสธข้อเสนอซื้อของ Yahoo ซึ่งเสนอซื้อ Facebook ด้วยเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวลือว่า Viacom เสนอซื้อ Facebook ด้วยเงิน 750 ล้านดอลลาร์ คำถามคือ การตัดสินใจของ Zuckerberg ครั้งนี้ ถูกต้องหรือไม่ ในช่วงไม่ถึง 2 ปีที่ผ่านมา มีเว็บยุคใหม่ที่เรียกว่า Web 2.0 ที่โด่งดัง 2 แห่ง ที่เพิ่งถูกขายให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่ นั่นคือ MySpace ที่ถูก News Corp ซื้อไปด้วยเงิน 580 ล้านดอลลาร์ และ YouTube ที่ยอมรับเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์จาก Google
       ขณะที่ในอดีตเว็บ Friendster เว็บชุมชนออนไลน์ที่โด่งดังเป็นเว็บแรก เคยปฏิเสธการเสนอซื้อด้วยเงิน 30 ล้านดอลลาร์จาก Google ในปี 2002 ซึ่งหากจ่ายเป็นหุ้น ป่านนี้คงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1 พันล้านดอลลาร์ แต่หลังจากนั้น Friendster ซึ่งเป็นเว็บรุ่นเก่า ก็ถูกบดบังรัศมีโดยเว็บรุ่นใหม่ๆ
       Facebook จะประสบชะตากรรมอย่างเดียวกับ Friendster หรือไม่ ในขณะที่เว็บชุมชนออนไลน์ใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบไม่เว้นแต่ละวัน
       Zuckerberg ยอมรับว่าเขาเป็น Hacker แต่ไม่ใช่ในความหมายของนักเจาะระบบ Hacker ของเขาหมายถึงการนำความพยายามและความรู้ที่ทุกคนมีมารวมกัน แบ่งปันกัน เพื่อบรรลุสิ่งที่ดีกว่า เร็วกว่าหรือใหญ่กว่า ซึ่งคนๆ เดียวทำไม่ได้ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดกว้าง การแบ่งปันข้อมูล เขาสร้างสิ่งที่เรียกว่า Hackathon ใน Facebook ซึ่งคล้ายกับการระดมสมองสำหรับวิศวกร
       อย่างไรก็ตาม Facebook กลับมีกำเนิดมาจากการเจาะระบบจริงๆ เมื่อ Zuckerberg เรียนอยู่ที่ Harvard เขาพบว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่มีหนังสือรุ่นที่เรียกว่า Face Book ซึ่งจะเก็บรายชื่อนักศึกษาพร้อมรูปและข้อมูลพื้นฐาน เหมือนอย่างมหาวิทยาลัยทั่วไป Zuckerberg ต้องการจะทำหนังสือรุ่นออนไลน์ของ Harvard แต่ Harvard กลับปฏิเสธว่า ไม่สามารถจะรวบรวมข้อมูลได้
       Zuckerberg จึงเจาะเข้าไปในระบบทะเบียนประวัตินักศึกษาของ Harvard และทำเว็บไซต์ชื่อ Facemash ซึ่งจะสุ่มเลือกรูปของนักศึกษา 2 คนขึ้นมา และเชิญให้ผู้เข้ามาในเว็บเลือกว่า ใคร “ฮอต” กว่ากัน
       ภายในเวลาเพียง 4 ชั่วโมง มีนักศึกษาเข้าไปในเว็บของ Zuckerberg 450 คน และมีสถิติการชมภาพ 22,000 ครั้ง ทำให้ Harvard ห้าม Zuckerberg ใช้ Internet และเรียกตัวไปตำหนิ เหตุการณ์จบลงโดย Zuckerberg กล่าวขอโทษเพื่อนนักศึกษา แต่เขายังคงเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้อง
       ต่อมา Zuckerberg จัดทำแบบฟอร์ม Facebook เพื่อให้นักศึกษาเข้ามาเขียนข้อมูลของตนเอง Thefacebook.com ซึ่งเป็นชื่อเริ่มแรกของ Facebook เปิดตัวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004 ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์ นักศึกษาครึ่งหนึ่งของ Harvard ลงทะเบียนในเว็บแห่งนี้ และเพิ่มเป็น 2 ใน 3 ของนักศึกษา Harvard ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นเริ่มติดต่อ Zuckerberg ขอให้ทำหนังสือรุ่นออนไลน์ให้แก่มหาวิทยาลัยของพวกเขาบ้าง จึงเกิดพื้นที่ใหม่ใน Facebook สำหรับ Stanford และ Yale ภายในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน โรงเรียนอีก 30 แห่งเข้าร่วมใน Facebook ตามมาด้วยโฆษณาที่เกี่ยวกับนักเรียนนักศึกษา และธุรกิจที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ทำให้เว็บชุมชนแห่งนี้ เริ่มสร้างรายได้หลายพันดอลลาร์
       ขณะนี้ Facebook กำลังจะเพิ่มจำนวนวิศวกรจาก 50 คนอีกเท่าตัวภายในปีนี้ และเพิ่มจำนวนพนักงานบริการลูกค้าซึ่งมีอยู่ 50 คน เพราะจำนวนผู้ใช้รายใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างท่วมท้น 100,000 คนต่อวันในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตลาดมหาวิทยาลัยในแคนาดาและอังกฤษของ Facebook เติบโตเกือบ 30% ต่อเดือน (มีข่าวว่า เจ้าชาย Harry แห่งอังกฤษและเพื่อนสาวคนสนิทก็เป็นผู้ใช้ Facebook ด้วย) และ 28% ของผู้ใช้ Facebook ทั้งหมด อยู่นอกสหรัฐฯ นอกจากนี้ อายุของผู้ใช้ Facebook เริ่มหลากหลายมากขึ้น ผู้ใช้อายุ 25-34 ปีมี 3 ล้านคน อายุ 35-44 ปีมี 380,000 คน และอายุเกิน 64 ปีมี 100,000 คน
       3 ปีก่อน Zuckerberg มาถึง Palo Alto ด้วยมือเปล่า และยังเป็นนักศึกษาของ Harvard แต่ขณะนี้เขาเป็นผู้บริหารเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ที่กำลังฮอตที่สุด และเพิ่งได้รับเชิญไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมผู้นำการเมืองและเศรษฐกิจโลกที่เมือง Davos สวิตเซอร์แลนด์ในปีนี้ รวมทั้งเพิ่งปฏิเสธข้อเสนอซื้อมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์อย่างไม่ใยดี
Orkut  (
www.orkut.com)       
       เว็บไซต์หาเพื่อนสำหรับกลุ่มนักท่องเว็บขี้เหงานั้นครองความนิยมมายาวนาน จนเกิดเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมามากมาย แม้เต่เจ้าพ่อเสิร์จเอนจินอย่างกูเกิล (Google) เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า ก้าวเท้าเดินตามรอยเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Friendster เพื่อเข้าสู่วงการ social networking ด้วยการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาโดยให้ทีมวิศวกรของกูเกิลทำเป็นโปรเจคของตัวเอง กูเกิลใช้กลยุทธโปรเจคส่วนตัวนี้เพื่อสร้างเว็บไซต์ใหม่ๆขึ้นมาได้อย่างชาญฉลาด โดยเว็บไซต์นี้ใช้ชื่อว่า Orkut.com เพื่อใช้เป็นเว็บไซต์เชื่อมต่อระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน ให้คุณสามารถสร้างความสนิทสนมได้บนความสะดวกสบา
       การเป็น social networking นั้นอาจจะเรียกได้ว่า เป็นเน็ตเวิร์กกระชับมิตร เพราะด้วยความที่ให้บริการเป็นชุมชนออนไลน์ ยูสเซอร์อาจจะใช้เครือข่ายนี้เป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อพูดคุยกับเพื่อนฝูง หรืออาจจะหาเพื่อนใหม่เพื่อนัดเดท ซึ่งไม่ต่างอะไรจากเว็บไซต์หาเพื่อน ที่เคยฮอตฮิตในเมืองไทยบ้านเราอยู่พักใหญ่ เว็บไซต์ที่เข้าข่าย social networking นี้ จะเปิดให้ยูสเซอร์ตั้งชื่อ และเลือกชุมชนที่ต้องการ โดยจะสามารถโต้ตอบกับผู้คนที่อยู่บนเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย แต่ในบางประเทศก็มีการนำเอา social networking นี้มาใช้ในการพัฒนาชุมชน โดยใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อประชาชนในชุมชนกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ประชาชนในชุมชน สามารถถ่ายทอดปัญหาและความต้องการได้โดยตรง จุดนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการแสดงความคิดเห็น การเฝ้าระวังข้อมูล การมีส่วนร่วม การสะท้อนมุมมอง และการระดมทุน
       ในงานแถลงข่าว Orkut.com มีการเปิดเผยรายละเอียดของเว็บไซต์นี้ว่า จุดประสงค์หลักของบริการจาก Orkut.com คือการช่วยให้คุณและเพื่อนๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยความสะดวกสบายมากขึ้นผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์นี้จะเปิดโอกาสให้เหล่าเพื่อนฝูงมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
       การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ Orkut.com จะต้องได้รับเชิญจากคนที่เป็นสมาชิกอยู่ก่อนเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้มีสมาชิกนับพันกว่าคนแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพนักงานของกูเกิลแทบทั้งนั้น หน้าตาอินเตอร์เฟสของ Orkut.com นี้มีลักษณะคล้ายกับเว็บไซต์ social networking ทั่วๆไปอย่างเช่น Friendster, Tribe.net เว็บไซต์กระชับมิตรเหล่านี้เป็นที่จับตามองอย่างมากในปีที่ผ่านมา
       แม้ว่าจะยังไม่มีใครสามารถทำกำไรมหาศาลจากเว็บไซต์ประเภทนี้ แต่โมเดลของ social-networking ก็เป็นที่จับตามองของบรรดานักลงทุนและผู้สร้างเว็บไซต์ทั้งหลาย ล่าสุดสำนักงานใหญ่ของกูเกิลที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นที่ตั้งในการสร้าง Orkut.com นั้นออกมาบอกว่า กูเกิลกำลังสร้างจุดเด่นให้เหนือกว่าบรรดาเว็บไซต์ที่อยู่ในตลาดชุมชนออนไลน์ด้วยการพยายามรวบรวมข้อมูลต่างๆให้ครบถ้วน ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่แล้วจากที่เห็นใน Blogger.com พัฒนาโดยกลุ่ม Pyra Labs
       กลยุทธ์โปรเจคส่วนตัว ชื่อเรียก Orkut นั้นมาจากชื่อผู้สร้างคือ Orkut Buyukkokten (ออกัต บายุกอกเท็น) ซึ่งเป็นวิศวกรของกูเกิลที่สนใจเรื่องของชุมชนออนไลน์ กูเกิลสนับสนุนการสร้าง Orkut.com ด้วยการให้วิศวกรสามารถใช้เวลาหนึ่งวันต่อสัปดาห์เพื่อทำโปรเจคส่วนตัวของแต่ละคนในเวลางาน Eileen Rodriguez (ไอลีน โรดริกูเอซ์) ประชาสัมพันธ์ของกูเกิลกล่าวอีกด้วยว่า หากโปรเจคไหนน่าสนใจก็จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ โดยการทดลองออนไลน์จริงเพื่อดูผลตอบรับจากบรรดานักท่องเน็ต
       โปรเจคส่วนตัวแแบบนี้ ทำให้เกิดบริการใหม่ๆที่เป็นประโบชน์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย อย่างเช่น บริการ 2 บริการในเครือของกูเกิลที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ กูเกิล นิวส์ (Google News) และ ฟลอกเกอร์ (Froogle) ทั้ง 2 บริการนี้เป็นบริการเบต้าเวอร์ชั่น คำว่าเบต้าเวอร์ชั่นนั้น คือการอยู่ในระหว่างการทดลองใช้ โดยกูเกิล นิวส์นั้นเป็นเว็บไซต์บริการข่าวจากกูเกิล ส่วนฟลอกเกอร์ เป็นเว็บไซต์ช่วยเสิร์จสินค้าในแคตตาล็อก
       Rodriguez กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าทางกูเกิลเปิดโอกาสให้กับวิศวกรของกูเกิล ด้วยการพยายามสนับสนุนให้พวกเขาใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องของลิขสิทธิ์นั้น อย่างเช่นในกรณี Orkut.com ตราบใดที่มีการพัฒนาเว็บไซต์ในเวลางานของกูเกิล กูเกิลก็จะยังเป็นเจ้าของลิขสิทธ์อยู่ แต่ว่าจะไม่ได้บรรจุอยู่ในรายการพอร์ตฟอริโอ ที่เก็บผลงานผลิตภัณฑ์ของกูเกิลอย่างเป็นทางการ
       ภายใน Orkut.com มีการใช้คำว่า"ในเครือกูเกิล"อยู่ด้านล่างของเว็บ แม้ว่า Orkut.com นั้นจะไม่ได้ใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เกี่ยวข้องกับกูเกิลเลยก็ตาม นั่นหมายความว่า Orkut.com จัดทำขึ้นโดยบายุกอกเท็นและทีมงานของเขาเท่านั้น นี่เป็นอีกก้าวหนึ่งของกูเกิลที่น่าจับตามองว่า ต่อไปจะมีบริการใหม่อะไรเกิดขึ้นในเครือของกูเกิลอีกหรือไม่
Bebo  (
www.bebo.com)      
       Bebo เป็นเครือข่ายทางสังคมแห่งยุคอนาคตที่ทำให้นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อกับเพื่อน หาเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันไปนาน และพบปะกับผู้คนใหม่ๆ หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนก.ค.ปีที่แล้ว ในเวลาแค่ 7 เดือน เครือข่ายทางสังคมแห่งนี้ก็มีสมาชิกจดทะเบียนมากกว่า 22 ล้านรายที่เข้ามาดูหน้าเว็บเพจถึงกว่า 700 ครั้งต่อเดือน Bebo เป็นบริษัทเอกชนที่บริหารงานโดยทีมบริหารที่มีประสบการณ์ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัทได้เปิดตัวเว็บไซท์เครือ ข่ายสังคมลำดับแรกๆคือ Ringo.com ซึ่งต่อมาเขาได้ขายเว็บดังกล่าวให้แก่ Tickle (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Monster ในปัจจุบัน) และล่าสุด อดีตประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจจาก Friendster ได้เข้ามาร่วมงานกับ Bebo นอกจากนี้ ทีมงานของ Bebo.com ยังเปิดเว็บไซท์อีกเว็บที่ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก (word of mouth) นั่นคือ BirthdayAlarm.com ซึ่งมีสมาชิก 40 ล้านคน
       Bebo เป็น Social Network ที่ถูกออกแบบมาดี โทนสีของเว็บไซต์ดูแล้วสบายตา ใช้งานง่าย มีการจัดระบบติดต่อผู้ใช้ได้ดี คนที่ไม่มีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้แบบไม่ติดขัด รูปร่างหน้าตาของบล็อกดูไม่รกหูรกตา รองรับการปรับแต่งได้หลากหลาย
บัญญัติ 10 ประการของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
     ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงยึดถือจรรยาบรรณต่อไปนี้ไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติ
1) เราต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2) เราต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3) เราต้องไม่สอดแนม หรือเข้าไปแก้ไขเปิดไฟล์ข้อมูลของผู้อื่น
4) เราต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5) เราต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6) เราต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7) เราต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่มีสิทธิ์
8) เราต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9) เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันจะติดตามมาจากการกระทำของเรา
10) เราต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น