วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการสืบค้นโดยใช้ Search Engine



       ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด
  1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่คุณจะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
  2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
  3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า
  4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น
  5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัว อักษรใหญ่แทน
  6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
  7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu
  8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ

การค้นหาขั้นพื้นฐาน (Basic Search)  
      ระบบสืบค้นข้อมูล คือ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ช่วยเหลือในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งสามารถสืบค้นได้ทั้งข้อมูลที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้สืบค้นข้อมูลจากทุกคำของข้อมูลจริง (Full Text Search) สนับสนุนการสืบค้นโดยกำหนดเงื่อนไขในรูปแบบต่างๆมากมาย ก่อนเริ่มต้นการใช้งานระบบสืบค้นข้อมูล ผู้ใช้งานควรทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆของแต่ละหน้าจอก่อน โดยเริ่มจากส่วนของการค้นหาข้อมูลขั้นพื้นฐาน (Basic Search) ดังนี้           


ส่วนประกอบต่างของ Basic Search  
ช่องเติมคำที่ต้องการค้นหา : สำหรับเติมคำสำคัญ (Keywords) ที่ท่านต้องการค้นหา
หมวดการค้นหา : ใช้สำหรับแยกหมวดหมู่ของเอกสารที่ต้องการค้น
ลิ้งค์ไปยังหน้าค้นหาขั้นสูง: สำหรับค้นหาข้อมูลโดยระบุเงื่อนไขที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ลำดับเลข : แสดงเลขลำดับของผลการค้นหา
หัวเรื่อง : แสดงชื่อหัวเรื่องของข้อมูล ผู้ใช้สามารถ เข้าไปดูรายละเอียดของข้อมูลจริงได้ โดยการคลิกที่หัวเรื่อง ระบบก็จะทำการเชื่อมโยงไปยังหน้าเอกสารจริง
ที่อยู่ของเอกสาร : แสดงที่อยู่ (URL) ของเอกสารที่ระบบค้นพบ
ตัวอย่างของคำที่ค้นพบ : แสดงตัวอย่างของข้อมูลที่ระบบค้นพบ พร้อมทั้งเน้นคำสำคัญด้วยตัวอักษรสี เพื่อให้สะดุดตา
เปอร์เซนต์ของคำที่ค้นพบในเอกสาร : ระบบจะคำนวณโดยคิดจาก (จำนวนคำที่พบในเอกสารนั้น / จำนวนคำที่มากที่สุดที่พบในเอกสาร)*100
แสดงจำนวนเพจ:จะทำการแสดงสถานะการแสดงในหน้านั้นการแสดงหน้านั้นๆ
หน้าที่ถูกเก็บไว้ : เมื่อคลิกที่นี่ระบบจะแสดงหน้าจอของเอกสารที่ถูกเก็บไว้ในระบบ
ขนาดของไฟล์ข้อมูล : แสดงขนาดของไฟล์ข้อมูล
จำนวนที่ค้นพบ : แสดงสรุปผลการค้นหา โดยบอกถึงช่วงของข้อมูลในหน้าปัจจุบัน จำนวนทั้งหมดที่ค้นพบ และเวลาที่ใช้ในการค้นหา


กลยุทธ์และเทคนิคการค้นสารสนเทศ
       หมายถึง วิธีการต่างๆที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้น เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
           • เทคนิคการสืบค้นแบบง่าย (Simple search)
           • เทคนิคการสืบค้นขั้นสูง (Advanced search)

      เป็นวิธีการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้คำโดดหรือคำผสมเพียง 1คำ ในการสืบค้นข้อมูลโดยไม่ต้องสร้างประโยคคำค้นที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ทางเลือกในการสืบค้นที่สำคัญ คือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ

1.1 เทคนิคการสืบค้นแบบง่าย (Simple search)

1) ชื่อผู้แต่ง (Author)
            สามารถใช้ชื่อบุคคล กลุ่ม บุคคล หรือหน่วยงาน/องค์กร ที่่แต่ง หรือ เขียนหนังสืิอนั้นๆ
การสืบค้นมีหลักการ ดังนี้
ผู้แต่งคนไทย
  • ค้นที่ชื่อของบุคคลนั้น ๆ 
  • หากมี ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นจากชื่อ 
  • ชื่อที่มีสมณศักดิ์ ให้ค้นตามสมณศักดิ์นั้นๆ
 ตัวอย่าง
ศ. นายแพทย์ประเวศ วะสี  =   ประเวศ วะสี
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช      =   คึกฤทธิ์ ปราโมช,ม.ร.ว. 
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา =   กษมา วรวรรณ  ณ อยุธยา, คุณหญิง 
พระพรหมคุณากรณ์   =   พระพรหมคุณากรณ์(ป.ปยุตโต)
พระมหาสมปอง         =    พระมหาสมปอง ตาลปุตโต

ผู้แต่งชาวต่างประเทศ   ให้ค้นที่ชื่อสกุล 
เจ. เค. โรวลิ่ง        =      โรวลิ่ง, เจ.เค.
Hillary J. Clinton     =    Clinton, H. J.
Barack Obama       =      Obama, B.

ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน / องค์กร   
  • ค้นที่ชื่อหน่วยงานนั้น 
  • กรณีที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่ และหน่วยงานย่อย ให้ค้นที่ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน 
  • กรณีที่เป็นชื่อย่อ ให้ค้นที่ชื่อเต็ม 
ตัวอย่าง    อ.ส.ม.ท.    ค้นด้วยคำว่า   งค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย  

2)  ชื่อเรื่อง (Title) สืบค้นจากชื่อทรัพยากรสารสนเทศ

3)  คำสำคัญ (Word / Keyword )
          คือ คำ/ กลุ่มคำ วลี ที่ใช้แทนความหมายของเนื้อเรื่องที่ต้องการค้น  มีข้อควรพิจารณา คือ
บางครั้งเรื่องที่ค้นอาจไม่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากการพ้องรูป หรือเป็นคำว้างมากเกินไป

ตัวอย่าง
AIDS        Acquired immune deficiency syndrome
HIV          ภูมิคุ้มกันบกพร่อง    เอดส์     โรคเอดส์
DNA        Deoxyribonucleic acid  สารพันธุกรรม  ดีเอ็นเอ


4) หัวเรื่อง (Subject)
            หมายถึงคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อแทนเนื้อหาของหนังสือ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ สามารถค้นที่คำหรือวลีที่เป็นชื่อบุคคล  ชื่อประเภทของหน่วยงาน สัตว์ พืช สิ่งของ ฯลฯ อาจมีการแบ่งย่อยลงสู่เรื่องเฉพาะมากขึ้น โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย –(hyphen)หรือ  ,(comma) 

1.2 เทคนิคการสืบค้นขั้นสูง (Advanced search)

          เป็นการสร้างประโยคคำค้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ทำให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้นมี 3 เทคนิค คือ 
  •  เทคนิคตรรกบูลีน (Boolean logic)
  • เทคนิคการตัดคำ(Truncation)
  • เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit search)
1) เทคนิคตรรกบูลีน (Boolean logic)
          สืบค้นโดยอาศัยตัวกระทำ 3 ตัว คือ AND, OR, NOT 
  • AND ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตการค้นให้แคบลง  
  • OR ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อขยายขอบเขตการค้นให้กว้างขึ้น 
  • NOT ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตการค้นให้แคบลง

 2) เทคนิคการตัดคำ (Truncation) 
               เป็นเทคนิคที่ช่วยในการสืบค้นให้ได้ข้อมูลที่ กว้างขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น โดยการละข้อความบางส่วนของคำ และใช้สัญลักษณ์แทน อาจเป็นสัญลักษณ์ # หรือ ? หรือ $ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและ
ความสามารถของระบบ เช่น Librar#,Model*,Teach$, etc.

3) เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit search)
               เป็นเทคนิคการจำกัดการค้นให้แคบลง โดยกำหนดเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นร่วมกับคำค้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและความสามารถของระบบที่
สืบค้น เช่น การกำหนดให้ระบุปีพิมพ์ของข้อมูลที่ต้องการค้น หรือการกำหนดภาษาของเอกสาร เช่น  internet and la = English

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับพรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
           ขณะนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นต้นไป
พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือ กลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร ท่านมีหน้าที่หลายอย่าง ในฐานะ "ผู้ให้บริการ" ท่านควรทราบใน สิ่งที่ต้องเตรียมตัวเมื่อ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใช้บังคับ
         “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
         “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
         “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
         “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
         “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
         “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมายเหตุ
         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่มา: http://www.thaiall.com/article/law.htm

ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
         
           อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายช่วยสืบค้น  แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เป็นอย่างยิ่ง  แม้จะมีข้อดีอยู่มาก  แต่เทคโนโลยีก็ต้องมีข้อจำกัดและมีผลกระทบต่อผู้ใช้ในหลายลักษณะ เช่น
          1.  ข้อมูลเท็จ  ข้อมูลบิดเบือนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  ทำให้ผู้รับสารที่ขาดวิจารณญาณหลงเชื่อ
          2.  การเสนอขายสินค้าผิดกฎหมาย  ขายบริการทางเพศที่แอบแฝงอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          3.  โฆษณาชวนเชื่อของมิจฉาชีพทำให้ผู้รับสารไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          4.  เป็นโรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)  ซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง
          5.  มีปัญหาสุขภาพ  ส่งผลเสียต่อระบบของร่างกายทั้งการกิจ  การขับถ่าย  การนอน  และการออกกำลังกาย
          6.  ทำให้ขาดสังคม  ขาดสัมพันธภาพที่ดีต่อคนรอบข้างและสังคม
          สื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากในการสืบค้นข้อมูลและติดต่อสื่อสาร  เนื่องจากปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ส่งผลให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา  แม้อินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทสำคัญมาก  แต่ผู้ใช้เองก็ต้องรู้จักวิเคราะห์และประเมินข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนเพื่อที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน
 ที่มา: http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3072

4 วิธีของเด็ก- 6 วิธีสำหรับผู้ใหญ่ ป้องกันอันตรายจากเน็ต
          อินเตอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและอยู่ใกล้ชิดเยาวชนมากที่สุด ช่วยให้เยาวชนสามารถค้นคว้าหาความรู้และสาระได้อย่างเท่าเทียมกับอารยประเทศ แม้มีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีอันตรายไม่น้อยสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นแหล่งก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงเด็ก และเกิดความเสียหายกับตัวเด็ก ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีข้อเสนอ 6 แนวทางสำหรับผู้ใหญ่ และ 4 แนวทางสำหรับเด็กในการป้องกันอันตรายจากอินเตอร์เน็ตที่มีกับเด็ก ลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี และสกัดกั้นความเสียหายต่ออนาคตของชาติ จากผู้ใช้ในเมืองไทย 4.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเยาวชน
           ส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง...
1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเตอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่
6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว
            สำหรับเยาวชน มีข้อควรระวัง...
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
2. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูลหรือรูปภาพใดๆ บนอินเตอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
3. ไม่ไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใดๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
ข้อเสนอแนะว่าจะใช้ “ เน็ต ” อย่างไรให้ปลอดภัย
1. เมื่อเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ควรปรึกษาผู้ใหญ่เกี่ยวกับแนวทางในการใช้ในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน และเมื่อผู้ใช้มีความรู้ และคุ้นเคยในการใช้งานจริงบ้างแล้ว จึงค่อยปรับเปลี่ยนแนวทางในใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมต่อไป และควรเขียนแนวทางในการใช้อินเทอร์เน็ตติดไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการจัดระบบการใช้อินเทอร์เน็ต
2. อย่าให้รหัสลับแก่ผู้อื่น
3. ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
4. ตรวจทานว่าได้พิมพ์ชื่อเว็บไซด์ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงกด Enter เพื่อจะได้เข้าเว็บไซด์ที่ต้องการได้ถูกต้อง
5. ปรึกษาผู้ใหญ่ ก่อนเข้าใช้ห้องสนทนาบนอิน เทอร์เน็ต เพราะว่าห้องสนทนาแต่ละห้องมีการสนทนาที่แตกต่างกัน บางห้องอาจไม่เหมาะสม
6. ถ้าพบเห็นข้อความ หรือสิ่งใด ที่ไม่เหมาะสม หรือ คิดว่าไม่ดีต่อการใช้อินเทอร์เน็ต ควรออกจากเว็บไซด์นั้น และแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
7. อย่าส่งรูปภาพของตนเอง หรือรูปภาพของผู้อื่น ให้คนอื่นทางอีเมลล์ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่เสียก่อน
8. ถ้าได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความไม่เหมาะสมหรือทำให้ไม่สบายใจ ไม่ควรโต้ตอบ และควรบอกให้ผู้ใหญ่ทราบก่อนทันที
9. บนอินเทอร์เน็ต ทุกอย่างที่คุณเห็นไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
10. อย่าบอกอายุจริงของคุณกับคนอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
11. อย่าบอกชื่อจริง และนามสกุลจริงกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษา และขออนุญาตผู้ใหญ่ก่อน 12. อย่าบอกที่อยู่ ของคุณกับบุคคลอื่น
13. ปรึกษาผู้ใหญ่ก่อนทุกครั้งที่จะทำการลงทะเบียนใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต
14. อย่าให้หมายเลขของบัตรเครดิตการ์ดของคุณกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
15. ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา คุณสามารถทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการได
16. อย่าเปิดเอกสารหรืออีเมลล์หรือไฟล์ จากบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีไวรัส หรือข้อมูลไม่เหมาะสม มากับเอกสารหรืออีเมลล์นั้น
17. ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่สะดวกในการดูแลเอาใจใส่ เช่น ห้องนั่งเล่น หรือ ห้องส่วนรวม 18. อย่าตัดสินใจที่จะไปพบบุคคลอื่นซึ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ และถ้ามีการนัดพบกันไม่ควรไปเพียงลำพัง ควรมีผู้ใหญ่หรือคนที่รู้จักหรือเพื่อนไปด้วย และควรนัดพบกันในที่สาธารณะ
19. บนอินเทอร์เน็ตข้อมูลต่าง ๆ ที่เราพิมพ์ลงไป บุคคลอื่นที่เราไม่รู้จักสามารถล่วงรู้ได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
20. อย่าบอกเบอร์โทรศัพท์ของคุณกับบุคคลอื่น ในอินเทอร์เน็ต
21. พูดคุยกับผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับสถานที่ กิจกรรม และสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น บนอินเทอร์เน็ตที่ได้พบเห็น ระหว่างการใช้อินเทอร์เน็ต
22. ใช้ชื่อที่ต่างจากชื่อจริง และชื่อเล่นของตัวเองเพื่อใช้แทนตัวเอง ในขณะใช้อินเทอร์เน็ต
23. ควรปรึกษาผู้ใหญ่ ถ้าต้องการที่จะให้อีเมลล์แอดเดรสกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
24. ถ้ามีบุคคลอื่นที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ไม่ควรให้ข้อมูล และควรหยุดการสนทนานั้น
25. อย่าบอกชื่อ ที่อยู่ของโรงเรียนของคุณ กับบุคคลอื่นบนอินเทอร์เน็ต
26. ขณะใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรเชื่อคำพูดหรือข้อมูลของบุคคลอื่น เพราะการปลอมตัวทำได้ง่าย และอาจไม่เป็นความจริง
27. อย่าทำสิ่งผิดกฎหมายบนอินเตอร์เน็ต เช่น ถ้าไม่เคยใช้บัตรเครดิต ก็ไม่ควรกรอกข้อมูลในการซื้อของ โดยใช้บัตรเครดิต บนอินเทอร์เน็ต
28. เมื่อมีใครบางคนให้เงินหรือของขวัญ ฟรี ๆ กับคุณ ควรบอกปฏิเสธ และบอกให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
29. อย่าใช้คำไม่สุภาพ ขณะใช้อินเทอร์เน็ต
30. คุณสามารถออกจากอินเทอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ต


ที่มา: http://www.sjt.ac.th/e_learning/internet.htm